PFAS และการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารไปยุโรป

April 11, 2024
food packaging2

การตกค้างและปนเปื้อนของสารเคมีอันตรายในอาหารและสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นปัญหาสำคัญในระดับโลก โดยเฉพาะสารเคมีที่ย่อยสลายยาก อย่างเช่น สารเคมีในกลุ่ม PFAS (per-and polyfluoroalkyl substances) ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั้งในเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม เช่น กระทะเคลือบเทฟล่อน บรรจุภัณฑ์อาหาร หีบห่อฟาสต์ฟู้ด รวมไปถึงเสื้อผ้ากันน้ำ Goretex สีทาบ้าน หรือโฟมที่ใช้ในการดับเพลิง เนื่องจากคุณสมบัติที่ช่วยป้องกันความชื้นและการดูดซึมของไขมันได้ดี

ที่ผ่านมา มีผลการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพจาก PFAS บ่งชี้ว่าสารเคมีในกลุ่ม PFAS อาจมีส่วนเชื่อมโยงกับโรคหลายโรค อย่างเช่น มะเร็ง โรคตับ โรคหอบหืด ตลอดจนลดภาวะ การเจริญพันธุ์ และสามารถทำลายระบบภูมิคุ้มกัน รวมถึงปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาของทารกในครรภ์ หากมีการบริโภคสารชนิดนี้ที่ปนเปื้อนในอาหารและน้ำ ดื่มอย่างต่อเนื่อง

เพื่อลดปัญหาด้านสุขภาพและป้องกันสารตกค้างเป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม สหภาพยุโรป (อียู) อยู่ระหว่างการปรับปรุงกฎหมาย 2 ฉบับ คือ กฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยสารเคมีของสหภาพยุโรป (Regulation (EC) No. 1907/2006 หรือที่รู้จักกันในนามของระเบียบ “REACH”) และกฎระเบียบว่าด้วยวัสดุสัมผัสอาหารของสหภาพยุโรป (Regulation (EC) No.1935/2004) เพื่อปรับลด/ยกเลิกการใช้สาร PFAS ในผลิตภัณฑ์ต่างๆ

โดยมีสาระสำคัญดังนี้

เสนอให้มีการกำหนดมาตรการปรับลดหรือยกเลิกการใช้สาร PFAS ให้เหลือเพียงกลุ่ม “essential uses” เท่านั้น โดยเริ่มจากการห้ามการใช้สาร PFAS กับโฟมกันไฟ (fire-fighting foams) ก่อน ซึ่งคาดว่าจะมีการพิจารณาเห็นชอบภายในต้นปี 2565 และหลังจากนั้นในช่วงกลางปี 2565 จะเริ่มกระบวนการพิจารณาห้ามการใช้สารนี้กับสินค้าอื่นทั้งหมด ยกเว้นสินค้าจำเป็น เช่น อุปกรณ์ด้านการแพทย์ เป็นต้น

เสนอให้มีการขยายขอบเขตการกำกับดูแลการใช้สารในกลุ่ม PFAS ในวัสดุสัมผัสอาหารต่างๆ ให้รวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่ทำ ด้วยกระดาษ กระดาษแข็ง และเยื่อไฟเบอร์ชนิดอื่นๆ ด้วย ทั้งนี้ ผู้ประกอบการบรรจุภัณฑ์ยังสามารถใช้กระดาษรีไซเคิลสำหรับบรรจุภัณฑ์อาหารได้ แต่วัสดุนั้นจะต้องไปไม่มีส่วนประกอบของ PFAS ในปริมาณเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (maximum levels) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีสิ่งปนเปื้อนในอาหาร

แนวคิดการจำกัดการใช้สารเคมีกลุ่ม PFAS นี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ ที่ผ่านมา อียูได้มีการประกาศห้ามสารเคมีที่เป็น subgroups ของสารประเภทนี้ ไปแล้วกว่า 200 รายการ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากร่างข้อเสนอเกี่ยวกับการยกเลิกการใช้สาร PFAS ให้เหลือเพียงกลุ่ม “essential uses” ในครั้งนี้ อาจกระทบต่อผู้ประกอบการและประชาชนเป็นวงกว้าง ฝ่ายสนับสนุนให้มีการแบนสาร PFAS ในยุโรป เช่น เยอรมัน เนเธอร์แลนด์ สวีเดน นอร์เวย์ และเดนมาร์ก จึงจัดทำแบบสอบถามเพื่อรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องควบคู่กันไปด้วย ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2564 โดยต่อจากนี้ จะเสนอเรื่องให้หน่วยงานจัดการสารเคมียุโรป (European Chemical Agency: ECHA) นำ ข้อคิดเห็นที่ได้ไปพิจารณาและใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้เหมาะสมในทางปฏิบัติต่อไป

ผลการรับฟังความคิดเห็น

ร่างข้อเสนอข้างต้น นำมาสู่กระแสคัดค้านของผู้มีส่วนได้เสียหลายกลุ่ม โดยภาคเอกชนยุโรปที่เกี่ยวข้องไม่เห็นด้วยกับการห้ามใช้สารเคมีในกลุ่ม PFAS ทั้งหมด ซึ่งมีมากกว่า 4,700 ชนิด เพราะเห็นว่าอาจสร้างความเสียหายให้กับห่วงโซ่อุปทานเป็นวงกว้าง เนื่องจากในปัจจุบันมีการนำ สาร PFAS ไปใช้ประโยชน์เป็นวัตถุตั้งต้นทั้งในอุตสาหกรรมพลาสติก เครื่องปรับอากาศ สิ่งทอ ยานยนต์ ปิโตรเคมี ไฟฟ้า รถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมทางการแพทย์ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยากและต้องใช้เวลาหากต้องปรับเปลี่ยนไปใช้สารทดแทนชนิดอื่น นอกจากนั้น ยังกังวลเกี่ยวกับต้นทุนการผลิตสินค้าที่จะปรับเพิ่มขึ้นจนอาจถูกคู่แข่งตัดราคาได้

ด้านฝ่ายที่สนับสนุนให้มีการห้ามการใช้สาร PFAS ในยุโรป เช่น กลุ่ม NGO ด้านสิ่งแวดล้อม ต้องการให้คณะกรรมาธิการยุโรปออกมาตรการห้ามการใช้สารในกลุ่ม PFAS ทั้งหมด เพื่อป้องกันหรือลดการปนเปื้อนของอาหาร เสื้อผ้า และสิ่งแวดล้อม โดยพรรค Greens จากสภายุโรปพยายามผลักดันให้อียูเร่งลดผลกระทบที่เป็นอันตรายจากการใช้สารเคมีเพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์สารเคมีใหม่ของอียูที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อสภาพแวดล้อมที่ปลอดสารพิษ (toxic-free environment) ภายในปี ค.ศ. 2050

ข้อมูลจาก :https://thaieurope.net/2021/10/29/controlling-pfas-exposures/

แพ็คเกจ PFAS

เกี่ยวกับ SGS

เราคือเอสจีเอส ผู้นำด้านการทดสอบ การตรวจสอบ และการรับรองระบบของโลก เรา เราได้รับการยอมรับในฐานะผู้กำหนดมาตรฐานด้านความยั่งยืน คุณภาพและความซื่อสัตย์ พนักงาน 99,600 คนของเรา ดำเนินงานในเครือข่ายสำนักงานและห้องปฏิบัติการกว่า 2,600 แห่งทั่วโลก

บทความที่เกี่ยวข้อง

การทดสอบด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของอาหาร
ข่าวสารองค์กรในประเทศMay 08, 2024

ความสำคัญของการตรวจสอบความสะอาด
ในกระบวนการผลิต

เอสจีเอสนําเสนอบริการการทดสอบด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยของอาหาร เพื่อช่วยท่านดูแลทุกขั้นตอนของการผลิตและปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฏระเบียบของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ด้านเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร รวมทั้งปกป้องชื่อเสียงของแบรนด์คุณ

 

ตรวจคุณภาพน้ำดื่ม
ข่าวสารองค์กรในประเทศMarch 20, 2024

มาตรฐานน้ำดื่มของจีน และ 5 ข้อกำหนดหลักคุณภาพน้ำดื่มที่ผู้ประกอบการต้องรู้

สาธารณรัฐประชาชนจีน มีความมุ่งมั่นที่จะรักษาสุขภาพสาธารณะ ได้กำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำดื่มที่แข็งแกร่ง
scientist discuss the testing sample
ข่าวสารองค์กรในประเทศMarch 04, 2024

ขั้นตอนการส่งตัวอย่างวิเคราะห์กับห้องปฏิบัติการเอสจีเอส

เอสจีเอส ประเทศไทย ผ่านการตรวจประเมิน World Class Services ในระดับ Bronze award ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ได้ระดับคะแนนสูงสุด ในกลุ่ม SGS ทั่วโลก
ข่าวสารองค์กรในประเทศDecember 27, 2023

เอสจีเอส ประเทศไทย ได้รับการรับรอง World Class Services ระดับ Bronze Award

เอสจีเอส ประเทศไทย ได้รับมอบหมายพันธกิจจาก South East Asia Pacific (SEAP) Regional ในปี 2019 ในการนำร่องโครงการ  World Class Services Program (WCS) สำหรับการบริหารงานห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของเอสจีเอสทั่วโลก

ข่าวสารและข้อมูลเชิงลึก

  • บริษัท เอสจีเอส (ประเทศไทย) จำกัด - สำนักงานใหญ่

238 TRR Tower, 19th-21st Floor, Naradhiwas Rajanagarindra Road,

Chong Nonsi, Yannawa, 10120,

กรุงเทพ, ประเทศไทย